|
|
|
|
เข้าดูหน้านี้ 323
หมู่บ้านมีดอรัญญิก |
|
ประวัติและความเป็นมาของชุมชนบ้านอรัญญิก
ประวัติความเป็นมา
บ้านต้นโพธิ์ บ้านไผ่หนอง เป็นหมู่บ้านใหญ่มีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นตั้งอยู่หมู่ที่ 6,7 ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งสองหมู่บ้านมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว เพราะเป็นแหล่งผลิตมีดที่ใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมา เกือบ 200 ปี กลุ่มชาติพันธุ์ ชาวบ้านต้นโพธิ์ และชาวบ้านไผ่หนอง รกรากถิ่นฐานเป็นชาวเวียงจันทร์ ประเทศลาว ได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยประมาณช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งชาวเวียงจันทร์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพทางช่าง มีช่างทำทอง กับตีเหล็ก คืนคนไหนแข็งแรงก็ได้ตีเหล็ก คนไหนอ่อนแอ มีความละเอียดให้ตีทองคำ เครื่องอาภรณ์ ประดับกาย การทำมาหากิน ในสมัยนั้น อาชีพทั้งสองทำกันเป็นล่ำเป็นสันตลอดมา ครั้นต่อมาในราว พ.ศ. 2365 อาชีพช่างทองก็ได้เลิกราสลายตัวไป คงเหลือแต่อาชีพตีมีดประเภทเดี่ยว ชาวบ้านจึงยึดอาชีพตีมีดเป็นหลัก ไม่ได้ประกอบอาชีพอื่นปะปนเลยข้อสังเกตที่เป็นหลักฐานว่า ชาวเวียงจันทร์กลุ่มนี้มีอาชีพช่างทอง คือ ถ้าเรานำดินที่ชุมชนแหล่งนี้ลงร่อนในน้ำ ก็จะพบเศษทอง และขี้ตะไปทองอยู่ทั่วไป ความเป็นมาการตั้งถิ่นฐาน เหตุที่ชาวเวียงจันทร์กลุ่มนี้เข้ามาในประเทศไทยจะโดยถูกกวาดต้อนมาในสมัย เจ้าพระยามหากษัตรย์ศึกคราวยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์หรือจะเป็นการอพยพมา เองนั้น ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน แต่มีหลักฐานบันทึกไว้ว่า เข้ามาโดยมี “นายเทา” เป็นผู้นำ (ต่อมาในสมัยรัชการที่ 5 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนนราบริรักษ์” ) ได้เดินทางมาพบภูมิประเทศแห่งนี้ เป็นที่เหมาะสมแก่การประกอบอาชีพ คือ เดิมเป็นคงไม้ไผ่ขี้นอยู่หนาแน่น มีหนองน้ำและมีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านสมัยนั้นไม่มีถนนหนทางเหมือนปัจจุบัน ต้องอาศัยทางน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการคมนาคมโดยเฉพาะไม้ไผ่นี้เป็นวัสดุที สำคัญมากสำหรับช่างตีมีด เพราะไม้ไผ่มีประโยชน์อยู่ในตัวของมันนานัปการ เช่น นำมาเผาถ่านใช้เผาเหล็ก เพราะถ่านไม้ไผ่ให้ความร้อนสูงกว่าถ่านชนิดอื่น ลำต้นใช้ทำบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ทำด้ามพะเนิน ด้ามค้อนและด้ามมีด ซึ่งช่างตีเหล็กต้องใช้อยู่เป็นประจำ จึงเห็นว่าภูมิประเทศแห่งนี้เป็นอู่ข้าว อู่น้ำ อู่ปลา อันแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์จึงพร้อมใจกันลงหลักปักฐาน และได้ประชุมหารือกัน ตั้งชื่อบ้านของตนว่า “บ้านไผ่หนอง” ให้เป็นการเหมาะสมกับภูมิประเทศแต่ก่อนนั้น สำหรับบ้านต้นโพธิ์ คนเก่าคนแก่เล่าว่า เมื่อมาถึงทำเลนี้มีต้นโพธิ์อยู่กลางหมู่บ้าน จึงตั้งชื่อว่า “บ้านต้นโพธิ์ “ ครั้นกาลเวลาล่วงมา บ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพของหมู่บ้านก็ได้เปลี่ยนแปลงไป ดงไม้ไผ่ที่ขี้นอยู่หนาแน่นก็โล่งเตียนเป็นท้องไร่ท้องนา หนองน้ำก็ตื้นเขินไปหมดแล้ว
"หัตถกรรมมีดลือลั่น โบราณสถานวัดใหญ่เทพนิมิตร วิถีชีวิตสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก เอกลักษณ์ประเพณีไหว้ครูบูชาเตา"
พิธีไหว้ครูบูชาเตา
พิธีไหว้ครูบูชาเตา เป็น “พิธีไหว้ครู” ช่างตีมีดตีดาบ ของชาวบ้านต้นโพธิ์ บ้านไผ่หนอง และบ้านสาไร ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง ซึ่งมีอาชีพในการตีมีด เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า “มีดอรัญญิก”
บรรพชนของชาวบ้านไผ่หนองและบ้านต้นโพธิ์ ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวงนั้นเป็นชาวบ้านเวียงจันทร์ เข้ามาตั้งรกรากอยู่ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ มีอาชีพในการตีทองและตีเหล็ก แต่ต่อมาเลิกการตีทอง จึงเหลือแต่การตีเหล็กเพียงอย่างเดียว เหล็กที่ตีนี้ส่วนใหญ่ทำเป็นมีด ดาบ และอาวุธ ตลอดจนเครื่องใช้อื่น ๆ ซึ่งมีคุณภาพดีมาก เมื่อทำเสร็จแล้วก็นำมาขายที่หมู่บ้านอรัญญิก ตำบลปากท่า อำเภอท่าเรือ จึงเรียกว่า “มีดอรัญญิก” สิ่งที่ชาวตำบลท่าช้างทุกคนยังคงถือสืบกันมาตามขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมคือการ “ไหว้ครูบูชาเตา” ซึ่งทุกบ้านจะจัดบูชาในวันพฤหัสบดีช่วงเช้าตรู่ ของวันขึ้น 7 ค่ำ 9 ค่ำ ฯลฯ เดือน 5 (ประมาณเมษายน-พฤษภาคม) ตามแต่ความสะดวกเพื่อระลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ และเพื่อความเป็นสิริมงคลของตน ทั้งยังเป็นการปัดเป่าอุปัทวเหตุต่าง ๆ ในการตีเหล็กอีกด้วย พอได้เวลาผู้ทำพิธีไหว้ครูก็จะกล่าวบทชุมนุมเทวดาไหว้พระรัตนตรัย จากนั้นก็จะกล่าวบทอัญเชิญครูบาอาจารย์ทั้งหลายอันได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระวิศณุกรรม พระมาตุลี พระพาย พระคงคา พระฤๅษี 8 องค์ ฯลฯ ตลอดจนบูรพาจารย์ทั้งครูไทย ครูลาว ครูมอญ ครูจีน ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทพร แก่ผู้เข้าร่วมพิธีให้ประสบแต่ความสุขความเจริญ แล้วปิดทองเครื่องมือทุกชิ้น ทำน้ำมนต์ธรณีสารประพรมเครื่องมือและผู้เข้าร่วมพิธี | | | | | | | | |
|
|
| |
| | | |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
วัน พุธ ที่ 30 ตุลาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|